เมนู

ปัญจหัตถิเถราปทานที่ 5 (45)


ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกบัว 5 กำ


[47] พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธ ผู้มีพระจักษุทอดลง
ตรัสพอประมาณ มีพระสติ ทรงสำรวมอินทรีย์ เสด็จมาใน
แถวตลาด.

ดอกอุบล 5 กำที่เราทำเป็นพวงมาลัยไว้มีอยู่ เราเลื่อมใส
ได้เอาดอกอุบลนั้นบูชาพระพุทธเจ้า ด้วยมือทั้งสองของตน
และดอกไม้เหล่านั้นเรายกขึ้นเป็นหลังคาแห่งพระศาสดานั้น
เราทรงดอกไม้ถวายพระมหานาค ดังศิษย์กั้นร่มถวายอาจารย์
ฉะนั้น.

ในกัปที่สามหมื่น เราได้ยกดอกไม้ใด ด้วยกรรมนั้น เรา
ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.

ในกัปที่สองพันแต่กัปนี้ ได้เป็นกษัตริย์ 5 ครั้ง และเป็น
พระเจ้าจักรพรรดิ ทรงพละมาก มีพระนามชื่อว่าหัตถิยะ.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 และ
อภิญญา 6 เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว
ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปัญจหัตถิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบปัญจหัตถิยเถรปทาน

45. อรรถกถาปัญตหถิยเถราปทาน


อปทานของท่านพระปัญจหัตถิยเถระ มีคำเริ่มต้น ว่า สุเมโธ นาม
สมฺพุทฺธโธ
ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญไว้ในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ สั่ง
สมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่า สุเมธะ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว
เลื่อมใสในพระรัตนตรัยอยู่. สมัยนั้น ชนทั้งหลายได้นำดอกอุบล 5 กำมือ
มา. ท่านถือดอกอุบล 5 กำมือเหล่านั้น บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ
นามว่าสุเมธะ ผู้กำลังเสด็จเที่ยวไปบนถนน. ดอกอุบลเหล่านั้นได้ลอยไป
เป็นเพดานทำเป็นร่มอยู่ในอากาศไปพร้อมกับพระตถาคตทีเดียว. ท่านเห็น
ดังนั้นเกิดโสมนัส เป็นผู้มีสรีระอันปีติถูกต้องแล้ว ระลึกถึงบุญนั้นนั่นแล
ตลอดชีวิต จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว บังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวไป ๆ
มา ๆ อยู่ ในพุทธุปปาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลบรรลุนิติภาวะ
แล้ว เกิดศรัทธาบวชแล้ว เจริญวิปัสสนาไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต.
ท่านปรากฏโดยชื่อตามกุศลที่ตนบำเพ็ญมาว่า ปัญจหัตถิยเถระ ดังนี้.
ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เมื่อจะประกาศทิฏฐปุพพจริตาปทาน
ด้วยปัญญาโดยประจักษ์ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สุเมโธ นาม สมฺพุทฺโธ
ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุเมโธ เชื่อมความว่า เมธาดี คือ
ปัญญา มีปัญญาเครื่องแตกฉานการแทงตลอดสัจจะ 4 เป็นต้น มีแก่
พระผู้มีพระภาคเจ้าใด พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น คือพระสัมพุทธะ พระ-
นามว่า สุเมธะ เสด็จไประหว่างถนนในร้านตลาด. บทว่า โอกฺขิตฺตจกฺขุ